วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ls

คำสั่ง ifconfig
 
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์ทางด้านเน็ตเวิร์ก
 
คำสั่ง ls 
 
 
เป็นคำสั่งแสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่ที่เรามีอยู่
 
คำสั่ง ls –l
 
 
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดง รายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่เช่นกัน แต่จะมีส่วนที่ละเอียดกว่า คือบอกสิทธิของผู้ใช้ของไฟล์หรือไดเร็คทอรี่นั้นๆ ว่าใครมีสิทธิ Read write exe และบอกวัน เวลาที่สร้าง ไฟล์นั้นขึ้นมา
 
 
คำสั่ง cd 
 
 
  คำ สั่ง cd เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเข้าถึงไปยังไดเร็คทอรี่ที่เราต้องการ  จากบรรทัดแรกเราใช้คำสั่ง pwd เพื่อบอกไดเร็คทอรี่ที่เราอยู่ตอนนี้ คือ ize-ii แล้วเราก็ให้แสดงไฟล์ไดเร็คทอรี่ที่เรามีอยู่ใน ize-ii โดยใช้คำสั่ง ls  เมื่อเราต้องการที่จะเข้าไปในไดเร็คที่ชื่อว่า music เราก็ใช้คำสั่ง cd แล้วตามด้วยที่อยู่ของไดเร็คทอรี่music คือ /home/ize-ii/music  แล้วเราก็จะสามารถเข้าถึงไดเร็คทอรี่ที่เราต้องการ
                     ถ้าเราต้องการที่จะกลับขึ้นไปหา parent node คือไดเร็คทอรี่ก่อนหน้า 1 level เราก็สามารถใช้คำสั่ง cd แล้ว ตามด้วย จุดจุด (..) คือ cd .. ดังเช่นในรูปข้างบน


คำสั่ง mkdir

  คำ สั่ง mkdir เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี่ขึ้นมาใหม่ ดังรูปตัวอย่าง โดย พิมพ์ mkdir แล้วตามด้วยชื่อไดเร็คทอรี่ใหม่ที่เราอยากได้

คำสั่ง cp 



คำสั่ง cp เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ copy ไฟล์ ไฟล์ที่ได้ออกมาจะมีข้อมูลเหมือนกัน ดังตัวอย่างในรูป

คำสั่ง mv



  คำสั่ง mv เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ หรือ ไดเร็คทอรี่ หรือเป็นคำสั่งที่ใช้ในการย้ายไฟล์
หรือไดเร็คทอรี่ไปไว้ในไดเร็คทอรี่ที่เราต้องการ จากตัวอย่าง mv คำสั่งแรกเป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์
จาก test1 เปลี่ยนเป็นไฟล์ชื่อ reTest  ส่วน mv คำสั่งหลังเป็นคำสั่งที่ใช้ในการย้ายไฟล์ retest ไปไว้ใน
ไดเร็คทอรี่ ที่ชื่อ dirTest 
 
 
 
คำสั่ง rm
 
 
    คำสั่ง rm เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์หรือไดเร็คทอรี่ที่ว่าง แต่ถ้าต้องการลบไดเร็คทอรี่ที่มีไฟล์อยู่
ให้ใช้คำสั่ง rm –r แล้วตามด้วยชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
 
 
คำสั่ง nano 
 
 
 
คำสั่ง nano เป็นคำสั่งในการ edit text file แก้ไขไฟล์ที่เป็นไฟล์ text  โดย พิมพ์ nano เว้นวรรค แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ที่ต้องการแก้ไข แล้ว enter จะเข้าสู่หน้าจอดังรูปตัวอย่าง ให้เราทำการพิมพ์หรือแก้ไขข้อความที่เราต้องการ เมื่อเราต้องการเซฟ ให้กด ctrl + o  และเมื่อต้องการจะออกจากการแก้ไขไฟล์นี้ กด ctrl + x
 
 
 
คำสั่ง date
 
 
 
 
คำสั่ง date ใช้ในการแสดงวันที่ และเวลาปัจจุบัน
 
 
 
คำสั่ง uname –a   
 
 
คำสั่ง uname –a ใช้ในการแสดง ชื่อและรุ่นของ OS
 
 
 
คำสั่ง uptime 
 
 
  คำสั่ง uptime เป็นคำสั่งใช้สำหรับแสดงรายละเอียดว่าเปิดเครื่องมานานเท่าไหร่ และดูอัตราการทำงานของ cpu 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น: